วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Published สิงหาคม 29, 2562 by with 0 comment

รูปกลุ่ม


Read More
      edit
Published สิงหาคม 29, 2562 by with 0 comment

17.RIP

RIP คืออะไร
     RIP หรือ Routing Information Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่ายและกลายเป็นเป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของ Internet Gateway Protocol (หรือ Interior Gateway Protocol) การใช้ RIP, gateway host (ที่มี router)จะส่งตาราง routing (ซึ่งมีรายการของ host ทั้งหมดที่ทราบ) ไปยัง host ใกล้เคียงทุก 30 วินาที host ใกล้เคียง จะส่งต่อสารสนเทศไปยัง host ต่อไป จนกระทั่งภายในเครือข่าย จะมีข้อมูลเส้นทางเหมือนกัน สถานะนี้เรียกว่า network convergence การหาระยะของเครือข่าย RIP ใช้การนับแบบ hop เป็นวิธีการในการค้นหา (โปรโตคอลอื่นใช้อัลกอริทึมที่ทันสมัยกว่า เช่น เวลา) แต่ละ host ที่มี router ในเครือข่ายใช้ตารางสารสนเทศ routing ในการค้นหา host ต่อไป เพื่อหาเส้นทางให้กับแพ็คเกต สำหรับปลายทางที่กำหนด RIP ได้รับการพิจารณาว่าคำตอบที่มีประสิทธิผล สำหรับเครือข่าย homogeneous ขนาดเล็ก สำหรับเครือข่ายที่ซับซ้อน การส่งผ่านตาราง routing ทุก 30 วินาทีของ RIP อาจจะทำให้จำนวนรวม ของการใช้เครือข่ายหนาแน่นขึ้น

คุณลักษณะของ RIP มีดังต่อไปนี้

  1. RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop - RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที 
  2. การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่ 
  3. การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น

Image result for rip protocol


ที่มารูปภาพ : https://www.9tut.com
ที่มาข้อมูล : lhttp://jarung01.blogspot.com
Read More
      edit

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

1.HTTP

Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็น โปรโตรคอล ที่ใช้งานสำหรับเผยแพร่ข้อมูล และ เป็นสื่อการสำหรับการสือสาร อีกทั้งเป็นจุดกำเนิของ World Wide Web ซึ่งมีโครงสร้างเป็นตัวอักษรและตัวเลข (text) ใช้สำหรับเป็น link เชื่อมระหว่าง ข้อมูล text อื่นๆ และถูกใช้ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลในรูปแบบ multimedia สามารถเเรียกใช้งานผ่าน web browser เช่น Firefox, Google Chrome, Safari,Opera และ  Microsoft Internet Explorer ซึ่งจะไปทำการดึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทาง Server ที่ระบุใน URL ข้อมูลที่ส่งไปจะอยู่ในรูป plain text ไม่มีการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย จึงไม่ปลอดภัย
ที่มารูปภาพ : https://i2.wp.com/saixiii.com/wp-content/uploads/2017/04/http.png?resize=300%2C225&ssl=1
ที่มาข้อมูล : https://saixiii.com/http-https/

Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

2.HTTPS

HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) คือโปรโตคอลการสื่อสารอินเทอร์เน็ตที่ช่วยรักษาความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลผู้ใช้และเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้กับเว็บไซต์ ผู้ใช้คาดหวังประสบการณ์ออนไลน์ที่มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวระหว่างที่ใช้เว็บไซต์ เราขอแนะนำให้คุณใช้ HTTPS เพื่อปกป้องการเชื่อมต่อของผู้ใช้กับเว็บไซต์ ไม่ว่าเนื้อหาในเว็บไซต์จะเป็นรูปแบบใดก็ตาม
ข้อมูลที่ส่งด้วย HTTPS จะได้รับการรักษาความปลอดภัยผ่านโปรโตคอลความปลอดภัยชั้นการรับส่งข้อมูล (TLS) ซึ่งให้การปกป้องหลัก 3 ชั้นดังนี้
  1. การเข้ารหัส หมายถึง การเข้ารหัสข้อมูลที่แลกเปลี่ยนเพื่อรักษาความปลอดภัยจากผู้ลักลอบดูข้อมูล ซึ่งหมายความว่าขณะที่ผู้ใช้เรียกดูเว็บไซต์ จะไม่มีใครสามารถ "ฟัง" การสนทนาของพวกเขา ติดตามกิจกรรมของพวกเขาไปตลอดหลายหน้า หรือขโมยข้อมูลของพวกเขาได้
  2. ความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล หมายถึง จะไม่สามารถแก้ไขหรือทำให้ข้อมูลเสียหายในช่วงที่ถ่ายโอนข้อมูลไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม โดยที่ไม่มีการตรวจพบ
  3. การตรวจสอบสิทธิ์ หมายถึง การพิสูจน์ว่าผู้ใช้สื่อสารกับเว็บไซต์ที่เขาต้องการ โดยจะป้องกันการโจมตีจากบุคคลที่อยู่ตรงกลางและทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์อื่นๆ ในทางธุรกิจตามมา

ที่มารูปภาพ : https://www.google.com/imgres?imgurl=https%3A%2F%2Fi1.wp.com%2Fblog.tamaid.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2016%2F01%2FHTTPS_icon.png%3Fresize%3D800%252C400&imgrefurl=https%3A%2F%2Fblog.tamacorp.co%2Fhttps-%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A3%2F&docid=Fv-ZAqyHXBt-YM&tbnid=hxqyEaHBiIEdSM%3A&vet=10ahUKEwjH88nNlKjkAhUlIbcAHRaAB_YQMwhFKAMwAw..i&w=800&h=400&bih=947&biw=1920&q=HTTPS%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&ved=0ahUKEwjH88nNlKjkAhUlIbcAHRaAB_YQMwhFKAMwAw&iact=mrc&uact=8

Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

3.FTP

FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP server  เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client  เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTP
     โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML PHP ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
ที่มารูปภาพ : https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fwww.%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2015%2F03%2Fftp-content.jpg&imgrefurl=https%3A%2F%2Fsites.google.com%2Fsite%2Fclassroommroomsin%2Fkerd-khwam-ru%2Fftp-khux-xari&docid=_KTyMLy51dhm9M&tbnid=9XCxvHppm_-kWM%3A&vet=10ahUKEwi75aHPlajkAhXGNI8KHcjMDUkQMwhPKAAwAA..i&w=450&h=265&bih=898&biw=1920&q=FTP%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&ved=0ahUKEwi75aHPlajkAhXGNI8KHcjMDUkQMwhPKAAwAA&iact=mrc&uact=8
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

4.FTAM

FTAM (File Transfer, Access and Management) , มาตรฐาน ISO 8571 เป็น OSI Application layer protocol สำหรับ File Transfer Access and Management เป้าหมายของ FTAM คือการรวมกันเป็นโปรโตคอลเดียวทั้งการถ่ายโอนไฟล์ซึ่งคล้ายกับแนวคิดในอินเทอร์เน็ต FTP รวมถึงการเข้าถึงไฟล์แบบเปิดเช่นเดียวกับ NFS อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับ โปรโตคอล OSI อื่น ๆ FTAM ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และอินเทอร์เน็ตที่ใช้ TCP / IP ได้กลายเป็นเครือข่ายทั่วโลกที่โดดเด่น
     โปรโตคอล FTAM ถูกนำมาใช้ในภาคการธนาคารของเยอรมนีในการถ่ายโอนข้อมูลการหักบัญชี มาตรฐานการสื่อสารการธนาคาร (BCS) ผ่านการเข้าถึง FTAM (แบบสั้น BCS-FTAM) เป็นมาตรฐานใน DFÜ-Abkommen ( EDI -agreement) ในเยอรมนีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2538 BCS-FTAM Transmission Protocol ควรจะถูกแทนที่โดย Electronic ธนาคารมาตรฐานการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต (EBICS) ในปีพ. ศ. 2553 ในเดือนธันวาคม 2553 หยุดให้บริการ BCS กับ FTAM
     RFC 1415 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเกตเวย์ FTP-FTAM แต่ความพยายามที่จะกำหนดโปรโตคอลการถ่ายโอนไฟล์บนอินเทอร์เน็ตให้ความสำคัญกับการ บล็อกข้อความเซิร์ฟเวอร์ NFS หรือAndrew File System เป็นโมเดล
ที่มารูปภาพ : http://www.advancedrelay.com/w15/images/solutions/xot-ftam-2-topology-xot-large.png
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

5.POP3

POP3 คืออะไร
     POP3 ย่อมาจาก Post Office Protocol version 3 คือโปรโตคอล ( Protocol ) ที่ใช้รับ E-Mail ซึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ version 3 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า POP3  มีการทำงานแบบ Store-and-Forward นั้นหมายความว่า e-mail ที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ที่เครื่อง Server เพียงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมีความต้องการอ่าน e-mail ระบบจะทำการส่งข้อมูลของ e-mail มายังเครื่อง Client และลบข้อมูลบน Server ออก ดังนั้น เราสามารถอ่าน Mail ของเราหลังจากดึงข้อมูลเสร็จแล้ว ได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ต่างกับ SMTP เพราะ POP จะใช้ในการรับ e-mail เท่านั้น ส่วน  SMTP จะใช้ในการส่ง e-mail

ที่มารูปภาพ : http://www.mindphp.com/images/stories/encyclopedia/pop3_diagram.png

Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

6.SMTP

SMTP คืออะไร
            SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ Protocol  แบบ TCP/IP ที่ใช้ในการส่ง E-Mail ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ ซี่งสามารถส่งเมล์ไปยังผู้ใช้ได้ทั่วโลก มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการส่ง e-mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น และ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ SMTP




อ้างอิง https://www.mindphp.com/developer/23-function-php/2043-smtp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

7.IMAP

IMAP คืออะไร
     IMAP หรือ Internet Message Access Protocol คือ มาตราฐาน protocol ในการรับ email ซึ่งใช้งานโดย mail client ทำหน้าดึง mail จากฝั่ง mail server ลงมาด้วย TCP/IP connection เช่นเดียวกับ POP3 โดย IMAP ถูกออกแบบด้วยเป้าหมายในการจัดการ mail box ด้วยฝั่ง client เพราะฉะนั้น client เองจะทิ้ง message ไว้บน server จนกว่าทาง user จะเข้ามาลบมันออก ซึ่ง IMAP server จะทำการเปิด Listen port 143 ส่วน SSL IMAP (IMAPS) จะใช้ port 993
ปัจจุบัน mail server และ client สมัยใหม่รองรับ IMAP และ POP3 เป็นมาตราฐานของการรับ mail หมดแล้ว อีกทั้ง webmail จำพวก Gmail, Outlook, Yahoo! เองก็รองรับ IMAP และ POP3 เช่นกัน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ IMAP




อ้างอิง https://saixiii.com/what-is-imap/
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

8.IP

IP Address คืออะไร
     IP Address หรือ Internet Protocol address มันคือสิ่งที่ระบุตัวตนของ computer และ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น printer, switch,  router, อุปกรณ์ mobile อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ TCP/IP network ได้ ซึ่ง IP address จะเป็นตัวบ่งบอกถึงที่อยู่ของ node ในระบบ network และมักจะเขียนอยู่ในรูปตัวเลข 4 ชุดเช่น 172.16.12.1 สำหรับ IPv4 ซึ่งมีลักษณะเป็นเลข 32-bit แต่ด้วยการเติบโตของ internet โดยเฉพาะ Internet of things หรือ IoT ทำให้ IPv4 ไม่สามารถรองรับจำนวนอุปกรณ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ทัน เป็นผลทำให้เกิด IPv6 ที่ใช้ 128-bit ขึ้นมาแทนในอนาคต
     ปัจจุบัน IP address ถูกจัดการโดย Internet Assigned Numbers Authority (IANA) และ regional Internet registries (RIR) เพื่อแจกจ่าย IP address ให้กับ user หรือ  Internet service providers (ISP) เพื่อนำไปใช้งานโดยไม่ซ้ำกัน แต่ละ ISP และ private network จะทำการแจก IP address ที่ได้รับมาให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใน network ของตน ซึ่งอาจจะเป็นแบบ statis IP ที่ตายตัว หรือ dynamic IP ที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ connection เข้ามาใหม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ISP นั้นๆจะทำการ configure
IPv4 Address
     สำหรับ IPv4 ใช้หลักการสร้าง 32-bits ทำให้ address มีจำนวนเท่ากับ 429,4967,296 (232) IP address และแน่นอน IPv4 บางส่วน จะต้องถูกนำไปใช้งานเฉพาะด้าน เช่นในระบบ private network ประมาณ 18ล้าน IP address และ  multicast addresses ประมาณ 270 ล้าน address เรานิยมเขียน IP address ในลักษณะของตัวเลข 4 ชุดที่แบ่งด้วยจุด (.) โดยแต่ละชุดจะมีเลขได้ตั้งแต่ 0-255 เช่จ 172.16.254.1 ซึ่งแต่ละชุดจะแสดงถึง address ทีละ 8 bit แต่บางครั้งก็สามารถแสดงในรูปแบบ เลขฐาน 16, เลขฐาน 8 หรือข้อมูล binary ก็ได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ IP Address



อ้างอิง https://saixiii.com/what-is-ip-address/

Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

9.TCP/IP

TCP/IP คืออะไร
     TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet  Protocol การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
     TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ 


TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
  1. TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
  2. IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address 





Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

10.IPX/SPX

IPX/SPX คืออะไร
     IPX/SPX หรือ Intenetwork Packet Exchange/Sequanced Packet Exchange เป็นโปรโตคอลที่พัฒนามาจาก XNS Protocol (ของบริษัท Xerox Corporation และทางบริษัท Novell ได้นำพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น) จะมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางสำหรับเครือข่ายระบบ LANและ WAN ทางไมโครซอฟท์ก็สนับสนุนโปรโตคอลตัวนี้แต่เรียกว่า NWLink IPX/SPX Compatible Transport Protocol ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ Netware สามารถใช้งานฐานข้อมูล SQL Server บน Windows NT ได้ หรือการเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ SNA ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Mainframe ของ IBM



IPX


      

      อ้างอิง https://www.comgeeks.net/ipx/
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

11.DHCP

DHCP คืออะไร
            DHCP หรือ Dynamic Host Configuration Protocol เป็นเครื่องมือการจัดการเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันกับทั้งโปรโตคอล Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) ที่ใช้เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และยังใช้เพื่อการเชื่อมต่อกับเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของ ชุดโปรโตคอล TCP/IP
     หน้าที่หลักของ DHCP ก็คือ การจัดการและกำหนดค่า IP addresses แบบอัตโนมัติบนเครือข่าย ดังนั้น IP addresses ของแต่ละคนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการกำหนดด้วยตนเอง และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อตรวจสอบ ดีฟอลต์ เกตเวย์ (Default Gateway), Domain Name Server (DNS) และ Subnet Masks สำหรับอุปกรณ์ที่มีการตั้งค่าเพื่อการใช้งานในระบบเครือข่าย



ที่มาข้อมูล: https://www.quickserv.co.th
ที่มารูปภาพ: http://kssintertech.co.th
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

12.ARP

ARP คืออะไร
                ARP หรือ Address Resolution Protocol เป็นโปรโตคอลสำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address (IP address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เช่น IP เวอร์ชัน 4 ใช้การระบุตำแหน่งขนาด 32 บิต ใน Ethernet ของระบบใช้การระบุ ตำแหน่ง 48 บิต (การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์รู้จักในชื่อของ Media Access Control หรือ MAC address) ตาราง ARP ซึ่งมักจะเป็น cache จะรักษาการจับคู่ ระหว่าง MAC address กับ IP address โดย ARP ใช้กฎของโปรโตคอล สำหรับการสร้างการจับคู่และแปลงตำแหน่งทั้งสองฝ่าย
การทำงานของ ARP
        เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความ ยาวและรูปแบบที่ถูกต้องเพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ ARP จะกระจายแพ็คเกตในรูปแบบพิเศษ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบและถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC address หรือเครื่องที่ตอบมา



ที่มาข้อมูล: https://www.panda-thailand.com
ที่มารูปภาพ: http://techgenix.com
                                                                                                                  
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

13.RARP

RARP คืออะไร

     RARP หรือ Reverse Address Resolution Protocol เป็นโปรโตคอลมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรส (Mac address) ให้เป็นหมายเลขไอพี (IP address) ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น 


ที่มาข้อมูล: http://wakeupbio.blogspot.com
ที่มารูปภาพ: http://wakeupbio.blogspot.com
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

14.ICMP

ICMP คืออะไร
     ICMP หรือ Internet Control Message Protocol เป็นโปรโตคอล (Protocol)ที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานะของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ (Router)ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น 
     อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา เป็นไปได้สองกรณีคือ  8O% ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหาในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม  8O% และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้            
     ICMP Protocol จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ โปรโตคอลในระดับสูงกว่า Network Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ แต่สามารถนำโปรโตคอล ICMP มาประยุกต์ใช้ในการแจ้ง Error ได้เพื่อตรวจสอบโปรแกรมเบื้องต้น ในส่วนของ ICMP Message จะประกอบด้วย Type ขนาด 8 บิต Checksum ขนาด 16 บิต และส่วนของ Content ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันไปตาม Type และ Code



ที่มาข้อมูล: https://www.mindphp.com
ที่มารูปภาพ: https://www.comparitech.com
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

15.NTP

NTP คืออะไร     
     NTP ย่อมาจาก Network Time Protocol เป็นโพรโทคอลสำหรับการเทียบเวลามาตรฐาน และตั้งค่าเวลาบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆผ่านระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในองค์กรเพื่อช่วยทำให้เวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องแม่ข่ายนั้นมีค่าตรงกัน โดยรูปแบบการทำงานนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆคือ อุปกรณ์ที่ให้บริการเทียบเวลา (NTP Server) กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการเทียบเวลา (NTP Client) โดยโพรโทคอล NTP นั้นเชื่อมต่อผ่านทางระบบเครือข่ายด้วยโพรโทคอล UDP ผ่านพอร์ต 123 (โพรโทคอล UDP มีความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลแต่ก็มีข้อเสียตรงที่โพรโทคอล UDP ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งกันอยู่เหมือน TCP)
     โดยลักษณะการให้บริการเทียบเวลาของโพรโทคอล NTP แบ่งออกเป็นลำดับชั้น (Clock Strata) และมีการใช้ชื่อเรียกในแต่ละลำดับว่า Stratum เช่น Stratum 0 เป็นต้น ลำดับชั้นที่ยอมรับว่ายังมีความเที่ยงตรงที่สุด คือ Stratum 0-4 หากลำดับชั้นสูงกว่านี้ ถือว่าไม่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาจากหน่วยงาน ANSI (American National Standards Institute)




ที่มาข้อมูล: https://www.thaicert.or.th
ที่มารูปภาพ: https://www.thaicert.or.th
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

16.BGP

BGP คืออะไร
     BGP หรือ Border Gateway Protocol คือ Routing Protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายย่อยหลายๆเครือข่าย หรือที่เรียกว่า Interautonomous System นอกจากนั้น BGP ยังถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนค่าในการค้นหาเส้นทางสำหรับอินเทอร์เน็ตและถูกใช้งานทางฝั่งผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยผู้ใช้งานระบบเครือข่ายภายในองค์กรทั่วไป เช่น มหาวิทยาลัย หรือบริษัทต่างๆ ส่วนมากมักใช้ Dynamic Routing Protocol อาทิ RIP หรือ OSPF ในการแลกเปลี่ยนค่าสำหับการค้นหาเส้นทางภายในเครือข่าย แต่ถ้าองค์กรที่ต้องมีการติดต่อระหว่างเครือข่ายภายนอก เช่น ISP จะใช้ BGP ในการเชื่อมต่อ เมื่อ BGP ถูกใช้งานระหว่างเครือข่ายย่อยจะถูกอ้างอิงว่าเป็น External BGP (EBGP) แต่ถ้า BGP ถูกใช้งานภายในเครือข่ายย่อยจะถูกอ้างอิงว่าเป็น Interior BGP (IBGP)


Image result for bgp

คุณลักษณะของ BGP
     ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดจากหลายๆเส้นทางนั้น BGP จะใช้คุณสมบัติหลายๆ ประการเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ดังนั้นการกำหนดค่าต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพจึงถือว่าเป็นหัวใจหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย 
  1. Weight : ค่าที่กำหนดขึ้นมาเฉพาะในแต่ละเส้นทางและไม่แจกจ่ายไปยัง Router เพื่อนบ้าน โดย Router จะเลือกเส้นทางที่มีค่า Weight มากที่สุด
  2. Local preference : ค่าที่กำหนดว่าเส้นทางนั้นจะเป็นเส้นทางที่ใช้ออกจากกลุ่มย่อย โดยค่านี้จะถูกแจกจ่ายไปยัง Router เพื่อนบ้านภายในเครือข่ายย่อยๆนั้น เพื่อที่จะได้ค่าที่เหมือนกันภายในเครือข่ายย่อย
  3. Multi-exit discriminator(MED) : ค่าที่ใช้กำหนดเส้นทางที่จะไปยังเครือข่ายภายนอกกลุ่มย่อย (EBGP)
  4. Origin : ค่าตั้งต้นที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า BGP เรียนรู้เส้นทางเฉพาะอย่างไร โดยมีให้เลือก 3 ค่า คือ IGP, EGP และ Incomplete
  5. AS path : ค่า AS ที่ถูกระบุว่าได้ผ่านมาแล้วกี่เครือข่ายย่อย
  6. Next hop : ค่า IP address ของ Router ที่ใช้ในการส่งต่อ
  7. Community : ใช้สำหรับกำหนดชื่อกลุ่มของจุดหมายปลายทาง เช่น no-export, no-advertise หรือ internet
ข้อจำกัดในการใช้งาน
  1. การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายย่อยที่แตกต่างกัน แต่มีเส้นทางการเชื่อมต่อเพียงเส้นทางเดียว
  2. อุปกรณ์ Router ที่ใช้งานต้องมีหน่วยความจำที่มากพอสมควร เพราะอาจจะต้องมีการเก็บเส้นทางไว้มากถึง 200,000 ถึง 300,000 ชุดเลยทีเดียว
  3. ใช้ Bandwidth ค่อนข้างสูงเพื่อให้เพียงพอที่จะเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System

ที่มาข้อมูลhttp://telecom10.blogspot.com
ที่มารูปภาพ: https://www.cisco.com
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

18.SNMP

SNMP คืออะไร
     SNMP หรือ Simple Network Management Protocol คือมาตราฐาน protocol ชนิดหนึ่งสำหรับรวบรวมและจัดเรียงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกณ์ในระบบ IP Network เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิม อุปกรณ์ที่รองรับ SNMP ตัวอย่างเช่น modems, router, switch, servers, workstations, printers และ อุปกรณ์ด้าน IT อื่นๆ
     SNMP มีการอย่างแพร่หลายสำหรับทำ network management หรือระบบการ monitoring โดน SNMP จะเก็บข้อมูลในรูปแบบตัวแปรและจัดการโดย management information base (MIB) ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลหรือ database สำหรับการจัดการหรือเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆบนอุปกรณ์ใน network ณ ตอนนี้มี SNMP ออกมาถึง 3 version โดย SNMPv1 เป็น protocol รุ่นแรก และถูกพัฒนาต่อเป็น SNMPv2c และ SNMPv3 ตามลำดับ เพื่อเพิ่มขึดความสามารถ ความยื่ดหยุ่นในการใช้งานรวมถึงระบบ security

SNMP-network

SNMP จะมีส่วนประกอบด้วยกัน 3 ตัวหลักคือ
  1. ตัวอุปกรณ์ที่อยู่ใน network
  2. Agent — เป็น software ที่ต้องติดตั้งอยุ่บนอุปกรณ์เพื่อทำการตรวจสอบและ report สิ่งผิดปกติ
  3. Network management station (NMS) — เป็น software ของฝั่ง SNMP server หรือที่เรียกว่า manger คอยรับและเก็บรวบรวมข้อมูลจาก agent

ที่มาข้อมูล: https://saixiii.com
ที่มารูปภาพ: https://i0.wp.com
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

19. SSH

SSH คืออะไร
     SSH หรือ Secure Shell คือ โพรโทคอล (Protocol) ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายผ่าน พอร์ท (Port) หมายเลข 22 ซึ่งโพรโทคอล SSH มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าควบคุมหรือสั่งการเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ SSH ตามสิทธิของผู้ใช้งานซึ่งได้มาจากการพิสูจน์ตัวตนด้วยการล็อกอิน (Login) ด้วยการใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน โดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับ ข้อมูล (Encryption) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้แทนที่การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ส่งข้อมูล แบบไม่ได้เข้ารหัสลับ (Plaintext) เช่น Telnet, Rlogin หรือ FTP ปัจจุบันโพรโทคอล SSH มีสองเวอร์ชั่นคือ SSH-1 และ SSH-2 (ถูกพัฒนาจาก SSH-1 เพื่อแก้ไขช่องโหว่หรือข้อผิดพลาดที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถโจมตีเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ SSH ได้
ลักษณะการทำงาน
     การทำงานของโพรโทคอล SSH จะทำงานในลักษณะไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ (Client-Server) โดยรูปแบบการใช้งานจะประกอบไปด้วยโปรแกรม 2 ส่วนคือ โปรแกรมส่วนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่ให้บริการ (Server) จะถูกติดตั้งลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการให้บริการ SSH เช่น โปรแกรม OpenSSH-Server บนระบบปฏิบัติการ Linux โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมที่ให้บริการ SSH จะติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานร่วมกับบริการอื่นๆ ควบคู่ไป เช่น บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือบริการอัพโหลดไฟล์ เป็นต้น และโปรแกรมอีกส่วนจะทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อ (Client) ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ SSH เช่น โปรแกรม PuTTY บนระบบปฏิบัติการ Windows หรือ โปรแกรม OpenSSH-Client บนระบบปฏิบัติการ Linux

Image result for secure shell


ที่มาข้อมูล: https://www.thaicert.or.th
ที่มารูปภาพ: https://www.ssh.com



Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

20.SIP

SIP คืออะไร
     SIP หรือ Session Initiation Protocol คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง (create) , ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น
     โพรโทคอล SIP ทำงานอยู่บน Application Layer และถูกออกแบบโดยไม่คำนึงถึงชนิดของ Transport Layer ที่ใช้ในการส่งข้อมูล SIP สามารถทำงานบน Transmission Control Protocol (TCP), User Datagram Protocol (UDP), หรือ Stream Control Transmission Protocol (SCTP) ได้ โพรโทคอล SIP ทำงานในลักษณะ text-based ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้าย Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)

Related image



ที่มาข้อมูล: https://th.wikipedia.org
ที่มารูปภาพ: https://www.cisco.com
Read More
      edit
Published สิงหาคม 27, 2562 by with 0 comment

21.OSI Model ตัวอย่าง Protocol ในแต่ Layer

 OSI Model
 Protocol
Physical Layer
-H.323
-Token Ring
-Hub
Data Link Layer
-NetBEUI
- AppleTalk
-Switch
Network Layer
-NTP
-TCP/IP
-X.25
Transport Layer
- UDP
- TCP
-SCTP
Session Layer
- SDP
- SS7
-PPTP
Presentation Layer
-SSL
-JPEG
-ASCII
Application Layer
-FTP
- HTTP
- SIP

Read More
      edit